มาตรฐานเกลียว

มาตรฐานเกลียวในอุตสาหกรรม

   เกลียว (Thread) คือ ร่องที่ถูกทำขึ้นในระยะที่เท่าๆกัน โดยมีลักษณะเป็นร่องวนรอบๆเนื้องาน มีทั้งที่หมุนวนไปทางซ้ายและทางขวา มีไว้ใช้สำหรับยึดวัสดุ 2 ชิ้น หรืออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน  เช่น ยึดโต๊ะ, ยึดเก้าอี้, ยึดท่อน้ำ, ยึดท่อเหล็ก เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดก็จะมีขนาดเกลียวและรูปร่างเกลียวที่ไม่เหมือนกัน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานลักษณะของเกลียว

  • เกลียวนอก (External Thread) – เป็นเกลียวที่อยู่ด้านนอกของตัวอุปกรณ์ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เกลียวตัวผู้
  • เกลียวใน (Internal Thread) – เป็นเกลียวที่อยู่ด้านในของตัวอุปกรณ์ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เกลียวตัวเมีย
  • เกลียวขวา (Right Hand Thread) – เป็นเกลียวที่มีทิศทางการหมุนไปตามเข็มนาฬิกา ทิศทางนี้สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน
  • เกลียวซ้าย (Left Hand Thread) – เป็นเกลียวที่มีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา อาจจะพบเห็นไม่ได้บ่อยนัก
  • เกลียวตรง (Parallel Thread) – เป็นเกลียวที่มีความโตของเกลียวเท่ากันตลอดทั้งตัว
  • เกลียวสโลป (Taper Thread) – เป็นเกลียวที่มีลักษณะเอียงสโลปเล็กน้อย

ชนิดของเกลียวเราสามารถแบ่งมาตรฐานเกลียวที่นิยมใช้กัน ได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.เกลียวมาตรฐานเมตริก (ISO Metric Thread)มาตราฐานเกลียวเมตริก (ISO Metric Thread) หรือรู้จักกันในชื่อของเกลียว M หรือเกลียวมิล โดยการวัดระยะห่างระหว่างเกลียว (Pitch) ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร เป็นเกลียวที่ใช้งานกันแพร่หลาย มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตัวอย่างเช่น M3, M4, M5, M6 , M8 เป็นต้น
2.เกลียวมาตรฐานอเมริกา (American National Standard Pipe Thread)มาตรฐานอเมริกา (American National Standard Pipe Thread) หรือเรียกสั้นๆว่า National Pipe Thread ซึ่งในบ้านเราจะเรียกเกลียวชนิดนี้ว่า เกลียวหุน โดยจะมีหน่วยวัดเป็น นิ้ว มักจะพบได้บ่อยในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ท่อน้ำ จะมีชนิดของเกลียวแบ่งไปตามลักษณะของการใช้งานได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น NPT, NPS, NPTF, ACME เป็นต้น
3.เกลียวมาตรฐานอังกฤษมาตรฐานอังกฤษ (British Standard Thread) จะมีชนิดของเกลียวแบ่งไปตามลักษณะการใช้งานได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น BSF, BSW ,UNC,UNF เป็นต้น
4.เกลียวมาตรฐานญี่ปุ่น มาตรฐานญี่ปุ่น Japanese Industrial Standard หรือเรียกสั้นไปว่า (JIS) จะมีชนิดของเกลียวแบ่งไปตามลักษณะการใช้งานได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น PF,PT เป็นต้น
เกลียวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
1.เกลียว NPT (National Pipe Thread Taper) (เกลียวสโลป) เป็นเกลียวมาตรฐานอเมริกา เป็นเกลียวแบบเอียงหรือเกลียวเทเปอร์ มีมุมเอียง 1.47 องศา มีมุมยอดเกลียว 60 องศา  เกลียวแบบสโลพ หรือเกลียวเทเปอร์จะช่วยลดการรั่วซึมในระบบท่อน้ำหรือท่อลมได้เป็นอย่างดี ใช้ในงานระบบท่อต่างๆ
2.เกลียว BSP,BSPP (British Standard Pipe-Parallel) (Straight) (เกลียวตรง) เป็นเกลียวมาตรฐานของอังกฤษ มีมุมยอดเกลียว 55 องศา ใช้ในงานระบบท่อต่างๆ
3.เกลียว BSPT (British Standard Pipe-Taper) (เกลียวสโลป) เป็นเกลียวมาตรฐานอังกฤษ เป็นเกลียวแบบเอียงหรือเกลียวเทเปอร์ มีมุมเอียง 1.47 องศา มีมุมยอดเกลียว 55 องศา เกลียวแบบสโลพ หรือเกลียวเทเปอร์จะช่วยลดการรั่วซึมในระบบท่อน้ำหรือท่อลมได้เป็นอย่างดี ใช้ในงานระบบท่อต่างๆ
4.เกลียว PF (JIS Standard Pipe) (Parallel) เป็นเกลียวตรง มาตรฐานญี่ปุ่น มีมุมยอดเกลียว 55 องศา
5.เกลียว PT (JIS Standard Pipe) (Taper) เป็นเกลียวสโลป มาตรฐานญี่ปุ่น มีมุมยอดเกลียว 55 องศา เกลียวแบบสโลพ หรือเกลียวเทเปอร์จะช่วยลดการรั่วซึมในระบบท่อน้ำหรือท่อลมได้เป็นอย่างดี ใช้ในงานระบบท่อต่างๆ
6.เกลียว BSW (British Standard Whitworth) หรือเกลียววิตเวอร์ตชนิดหยาบ เป็นเกลียวมาตรฐานอังกฤษ มีลักษณะเกลียวตรง มีมุมยอดเกลียว 55 องศา ใช้ในงานสกรูและน๊อต ที่มีขนาดเป็นหุน หรือเรืยกง่ายๆว่าน๊อตเกลียวหุน
7.เกลียว ISO METRIC เป็นเกลียวมาตรฐานระบบISO (สากล)  เป็นเกลียวที่ได้รับความนิยม มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เกลียวมิล โดยการวัดระยะห่างระหว่างยอดเกลียว ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร มีมุมยอดเกลียว 60 องศา มีทั้งเกลียวหยาบและเกลียวละเอียด โดยปกติจะใช้ตัว M แล้วตามด้วยขนาด เช่น M3 ,M4,M5 ,M12x1.75 ใช้ในงานสกรูน๊อต ที่มีขนาดเป็นมิล